มารู้จัก 4 ประเภทตู้เชื่อม เครื่องเชื่อม ต่างกันอย่างไร
ตู้เชื่อม หรือ เครื่องเชื่อม เป็นอุปกรณ์ช่างที่ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในหลายสายงาน ไม่ว่าจะเป็น งานโรงรถ งานก่อสร้าง ตลอดจนงานในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยให้ช่างสามารถเชื่อมและตัดโลหะได้ เช่น เหล็ก และอะลูมิเนียม ทำให้การทำงานเกี่ยวกับเหล็กและโครงสร้างทำได้สะดวกสบายมากขึ้นในทุกงาน
วันนี้ HARDMAN THAILAND เราจะมาแนะนำให้คุณรู้จักกับเครื่องเชื่อม ว่าคืออะไร? และประเภทเครื่องเชื่อมทั้ง 4 แบบ แต่ละแบบเป็นอย่างไร?
1. เครื่องเชื่อมคืออะไร?
ตู้เชื่อมไฟฟ้า (Welding Machine) อุปกรณ์ที่ช่วยทุ่นแรงสำหรับงานช่างเชื่อม เป็นการใช้ไฟฟ้าในการเชื่อมชิ้นงานระหว่างโลหะเข้าด้วยกัน หรือการทำให้ติดกันตามความต้องการของงานนั้นๆ โดยในการทำงานของตู้เชื่อมไฟฟ้าจะอาศัยความร้อนจากตู้เชื่อมไฟฟ้า เพื่อให้โลหะหรือเหล็กละลายในปัจจุบันมีตู้เชื่อมไฟฟ้ามากมายหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ตอบโจทย์ในเรื่องของการนำไปใช้งานไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมแบบการอาร์คไฟฟ้าการเชื่อมแบบอาร์กอน และมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีต่างๆที่ดีขึ้น ส่งผลให้ตู้เชื่อมไฟฟ้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่าเดิม มีขนาดกะทัดรัดสะดวกและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย
2. ประเภทตู้เชื่อม ที่ควรรู้จัก
ต่อไปเรามาดูกันว่า ตู้เชื่อมแต่ละที่นำมาใช้กันในอุตสาหกรรมจริงๆ มีอะไรบ้าง ประเภทตู้เชื่อมแบบไหนที่เหมาะกับงานของเรา ตามไปดูกันเลย
2.1 เครื่องเชื่อมอาร์กอน
เครื่องเชื่อมอาร์กอน หรือ เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW) เป็นเครื่องเชื่อมไฟฟ้าแบบใช้พลังงานจากอาร์กที่ใช้แท่งอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม โดยบริเวณบ่อหลอมจะมีแก๊สเฉื่อยปกคลุม เพื่อป้องกันบ่อหลอมจากการปนเปื้อนหรือการทําปฏิกิริยากับอากาศรอบข้างแก๊สเฉื่อยที่ใช้กันทั่วไปคืออาร์กอนหรือฮีเลียม เครื่องเชื่อมประเภทนี้สามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 แบบ ระบบเชื่อมอาร์กอน TIG ระบบเชื่อมธูป ระบบ AC ที่เราเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า ตู้เชื่อมระบบ AC/DC
ตู้เชื่อมอาร์กอนที่มี 2 ระบบ จะมีสวิตช์เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว (+) สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว (-) แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ (-) และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก (+) แทน
✅ข้อดี
ข้อดีของใช้ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อม TIG คือ แนวเชื่อมสวยงาม ชิ้นงานเนียบมีคุณภาพ สะอาด ควันน้อย ไม่มีประกายไฟ ไม่ต้องใช้ลวดเติม สามารถเชื่อมชิ้นงานบางๆได้ ทั้งสแตนเลส อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง เครื่องเชื่อม TIG บางรุ่นสามารถทำการเชื่อมโลหะด้วยธูปเชื่อมหุ้มฟลักซ์
⛔ข้อเสีย
ข้อเสียของการใช้ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อม TIG คือ เชื่อมได้ช้า ราคาค่อนข้างแพง ต้องใช้ความชำนาญในการเชื่อม การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ ต้องใช้แก๊ส เป็นต้น
ดังนั้น ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อม TIG เหมาะสำหรับงานคุณภาพที่ต้องอาศัยความปราณีตของช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม เหมาะกับการเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม (ชิ้นงานที่บาง ๆ) |
2.2 เครื่องเชื่อม co2
เครื่องเชื่อม co2 (เครื่องเชื่อมคาร์บอน) หรือ เรียกกันในอีกชื่อว่า เครื่องเชื่อม mig ( Metal Inert Gas) หรือเครื่องเชื่อมมิก เป็นเครื่องเชื่อมที่สามารถใช้แก๊สคาร์บอนผสมเข้าไปเพื่อใช้ในการเชื่อม และไม่จำเป็นจะต้องป้อนลวดเข้าไปเหมือนเครื่องเชื่อมอาร์กอน เพราะมันสามารถป้อนเนื้อลวดลงบนที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่องได้
แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยนชนิดของโลหะที่ต้องการเชื่อม ก็จะต้องมีการเปลี่ยนท่อนำลวดเพื่อให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะอย่างมากสำหรับเหมาะกับโรงงานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เชื่อมโลหะจำนวนมาก หลากหลายรูปแบบ
✅ข้อดี
ข้อดีของการใช้เครื่องเชื่อม CO2 หรือตู้เชื่อม MIG คือ เชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว เครื่องเชื่อม CO2 สามารถเชื่อมแบบป้อนลวดเติมแบบอัตโนมัติ การเชื่อม CO2 สามารถเดินแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อมที่ต้องเปลี่ยนธูปเชื่อมบ่อย ๆ
⛔ข้อเสีย
ข้อเสียของการใช้เครื่องเชื่อม CO2 หรือตู้เชื่อม MIG คือ ราคาค่อนข้างสูง ต้องใช้ความชำนาญในการเชื่อม การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน ต้องมีแหล่งจ่ายไฟและใช้แก๊ส ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ ใช้กระแสไฟสูง
ดังนั้น เครื่องเชื่อม CO2 หรือตู้เชื่อม MIG ชนิดนี้เหมาะสำหรับงานเชื่อมตามโรงงานอุตสาหกรรม งานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพงานสูง เหมาะกับการเชื่อมงานได้ทุกประเภท |
2.3 เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์
เครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA (Manual Metal Arc Welding หรือ SMAW) หรือเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้ความร้อนที่เกิดจากอาร์คระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Electrode) กับชิ้นงาน เป็นพลังงานในการเชื่อม โดยจะต้องต่อไฟตรงเข้าไปในตู้เพื่อสร้างพลังงานออกมา
เครื่องเชื่อมประเภทนี้ได้รับความนิยมเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่ายและเหมาะสำหรับช่างมือใหม่หรือผู้ที่สนใจงานเชื่อมที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมโลหะ สามารถใช้เชื่อมเหล็ก สเตนเลส และอาจเชื่อมอะลูมิเนียมได้หากมีกระแสเชื่อมสูงประมาณ 200 แอมป์ขึ้นไป
✅ข้อดี
ข้อดีของใช้ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ (ARC/MMA) คือ เชื่อมได้เร็ว เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย พกพาสะดวก ราคาประหยัด ไม่ต้องใช้แก๊ส
⛔ข้อเสีย
ข้อดีของใช้ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ (ARC/MMA) คือ เชื่อมได้เร็ว เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย พกพาสะดวก ราคาประหยัด ไม่ต้องใช้แก๊ส
ดังนั้น ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์ (ARC/MMA) เหมาะสำหรับช่างมือใหม่ที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมงานเหล็ก,สแตนเลส จนถึงช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม |
2.4 เครื่องตัดพลาสมา
เครื่องตัดพลาสมา (Plasma) เป็นตู้เชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ในการตัดโลหะ โดยจะต้องต่อกับปั๊มลมไฟฟ้า เพื่อส่งพลังงานที่มีความเร็วสูงไปที่ตรงหัวปืนตัดทําให้ลมกลายเป็นพลาสมา (Solid liquid gas plasma) ออกไปตัดชิ้นงาน
เครื่องตัดพลาสมาสามารถตัดชิ้นงานที่เป็นโลหะได้ทุกชนิดแต่ความหนาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดโลหะ เช่น ตัดเหล็กได้ความหนามากที่สุดรองลงมาคือสเตนเลสและอะลูมิเนียมตามลำดับ
✅ข้อดี
ข้อดีของเครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) คือ ตัดโลหะได้ทุกชนิด มีความสวยงามของแนวตัดสูญเสียเนื้อชิ้นงานน้อย ตัดงานบางได้ดี เนื่องจากความร้อนสะสมที่ชิ้นงานน้อย ทำให้ชิ้นงานไม่เกิดการบิดงอ หรือเสียรูปและมีความปลอดภัยสูง
⛔ข้อเสีย
เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) มีราคาค่อนข้างสูง ,คุณภาพงานต้องขึ้นกับความชำนาญของผู้ใช้ ,อะไหล่สิ้นเปลืองของเครื่องตัดพลาสม่าต้องเปลี่ยนบ่อย
ดังนั้น เครื่องตัดพลาสม่าเหมาะกับการตัดโลหะ ทั้งอลูมิเนียม คาร์บอน สเตนเลส ทองแดง ทองเหลือง บรอนซ์นิกเกิลอัลลอย เซอร์โครเมียม เป็นต้น ทั้งนี้ก๊าซ (หรือลม ) ตัวกลางที่นํามาเป็นส่วนของก๊าซพลาสม่าก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้องานที่นํามาใช้ อย่างไรก็ตามคุณภาพของชิ้นงานที่ตัดก็ขึ้นอยู่กับความชํานาญของผู้ใช้เป็นส่วนสําคัญด้วย |